วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อโครงงานนั้นๆ โดยขั้นตอนของการทำโครงงานแบ่งได้ 6 ขั้นตอน ดังนี้
                1.การคัดเลือกหัวข้อที่สนใจ  เรื่องที่นำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม ความสนใจ การสังเกต สิ่งต่างๆ ประสบการณ์ของตนเองหรือสิ่งของต่างๆ รอบตัวที่เกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร เว็บไซด์ ทางอินเทอร์เน็ต การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้ง การสนทนา อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อน ผู้เรียน หรือกับบุคคลอื่นๆ กิจกรรมการเรียน การสอนในโรงเรียน งานอดิเรกของผู้เรียน การเข้าชมงานนิทรรศการ หรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตาม ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาการโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญต่อไปนี้
                1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อที่จะศึกษา
                2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้

3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะศึกษา
4. มีเวลาเพียงพอในการจัดทำโครงงาน
5. มีงบประมาณเพียงพอในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์เพื่อทำโครงงาน
              6. มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจารการทำงาน
2. การศึกษาค้นคว้าเอกสาร การได้ศึกษาและเยี่ยมชมโครงงานคอมพิวเตอร์ในงานนิทรรศการและศึกษาค้นคว้าเอกสาร รายงาน โครงงานคอมพิวเตอร์จากเว็บไซด์ต่างๆ ทั่วโลก และแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ จะช่วยให้มีแนวคิดในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้รับความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม โดยจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วยเสมอ
    เมื่อศึกษาค้นคว้า และบันทึกข้อมูลมาแล้ว จึงนำโครงงานคอมพิวเตอร์มาวิเคราะห์ โดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนี้
1) มูลเหตุจูงใจ และเป้าหมายในการทำโครงงาน                                                                                                                 
2) การดำเนินการพัฒนาโครงงาน                                                                                                                                         
3) วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ในการดำเนินการและตัวแปลภาษาโปรแกรมที่ต้องใช้                                                                                                                                                                        
 4) ความต้องการของผู้ใช้และคุณลักษณะของผลงาน                                                                                                       
5) กลุ่มผู้ทดลองใช้โครงงานและวิธีการประเมินผล                                                                                                     
 6) วิธีการพัฒนาโครงงาน                                                                                                                                                     
7) ข้อสรุปของโครงงาน                                                                                                                                                        
8) ความแปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ของผู้ทำโครงงาน                                                                                             
9) แนวทางในการปรับปรุงหรือขยายการทดลองจากงานเดิม
     ผลที่ได้จากการดำเนินงานขั้นตอนนี้ จะช่วยให้ได้แนวคิดในการกำหนดขอบข่ายหรือเค้าโครงของเรื่องที่จะศึกษาชัดเจนว่า จะทำอะไร ทำไมต้องทำ ต้องการให้เกิดอะไร ทำอย่างไร ใช้ทรัพยากรอะไร ทำกับใคร และจะเสนอผลงานอย่างไร 
3. การจัดทำข้อเสนอโครงงาน   เป็นการกำหนดกรอบแนวคิดและวางแผนการพัฒนาไว้ล่วงหน้าเพื่อช่วยให้สามารถคาดการณ์หรือทำนายความเป็นไปได้ของการทำโครงงานนี้ เสนอหัวข้อโครงงานเพื่อขอคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดยทั่วไปการทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
1) ศึกษาค้นคว้าเอกสารอ้างอิง และรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้เชียวชาญ                                                                                               
2) วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดขอบเขตและลักษณะของโครงงานที่จะพัฒนา                                                                              
 3) ออกแบบการพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และตัวแปล ภาษาโปรแกรม และวัสดุต่างๆ ที่ต้องใช้ กำหนดคุณลักษณะของผลงาน ระบุเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา พร้อมทั้งกำหนดตารางการปฏิบัติงาน
4) ทำการพัฒนาโครงการขั้นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ โดยอาจจะทำการพัฒนาส่วนย่อยๆ บางส่วนตามมี่ได้ออกแบบไว้ แล้วนำผลศึกษาไปปรับปรุงผลการทดลองที่ได้ออกแบบให้เหมาะสม
5) จัดทำและเสนอข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข ให้สามารถวางแผนและดำเนินการทำโครงงานต่อไปเป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่เริ่มจนเรียบร้อย
4)  การพัฒนาโครงงาน  เป็นการลงมือทำโครงงานตามข้อเสนอโครงงานที่วางแผนไว้  ตามขั้นตอนต่อไปนี้              
1)  การเตรียมการ  เป็นการเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์  ซอฟต์แวร์  และวัสดุอื่นๆที่จะใช้ในการทดลอง  พร้อมทั้งจัดเตรียมสถานที่สำหรับใช้ในการทำโครงงาน  เตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำกิจกรรมโครงงาน ดังนี้  วิธีการปฏิบัติ  ผลการปฏิบัติ  ปัญหาและแนวทางแก้ไข  รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ  เก็บเป็นแฟ้มข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์                                                                                                                         
2)  การลงมือพัฒนา  เป็นการปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในข้อเสนอโครงงาน  แต่อาจเปลี่ยรแปลงหรือเพิ่มเติมได้  ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น  นอกจากนี้ยังรวมถึงจัดระบบการทำงานโดยทำเป็นส่วนหลักสำคัญๆให้แล้งเสร็จก่อน  จึงค่อยทำส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น  โดยคำนึงถึงความปลอดภัย  และระยะเวลาในการทำงาน                                                                                                                                                    
3)  การตรวจสอบผลงานและแก้ไข  เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของผลงานเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นมานั้น  ทำงานได้ถูกต้องตรงข้ามกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย  และมีประสิทธิภาพหรือไม่                                            
4)  การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ  เป็นการสรุปการพัฒนาโครงงานด้วยข้อความที่กระชับครอบคลุม   และทำการอภิปรายผลเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน  สามารถพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้  พร้อมกับนำไปหาความสัมพันธ์กับผลงานที่ผู้อี่นได้ศึกษาไว้แล้ว  ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี  หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย                                                                                                                        
5)  แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ  เป็นการเขียนข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาต่อไป  ซึ่งอาจได้มาจากที่นักเรียนพบข้อสังเกต  ประเด็นที่สำคัญหรือปัญหาต่างๆ ในระหว่างการพัฒนาโครงงาน                            
5.  การจัดทำรายงาน  เป็นการรวบรวมข้อมูล  ผลการวิเคราะห์และอภิปราย   ผลการพัฒนาโครงงานซึ่งรวมถึงคู่มือการใช้งานมาจัดทำเป็นรายงาน  เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด  วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า  ข้อมูลที่ได้  ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ  เกี่ยวกับโครงงาน  ในการเขียนรายงานควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย  ชัดเจน  กระชับ  และตรงไปตรงมา  ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆดังต่อไปนี้                                                                                      

1)  ส่วนนำ   เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน  ซึ่งประกอบด้วย   ชื่อโครงงาน  ชื่อสาขาของงานวิจัย  ชื่อผู้ทำโครงงาน  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา   คำขอบคุณ   บุคลากรหรือหน่วยงานต่างๆ  ที่มีส่วยช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จ  และบทคัดย่อซึ่งอธิบายที่มาความสำคัญของโครงงาน  วัตถุประสงค์  วิธีการดำเนินงาน  และผลที่ได้รับ  ตลอดจนข้อสรุปต่างๆอย่างย่อ
2)  บทนำ  เป็นรายละเอียดเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วยที่มาและความสำคัญของโครงงาน  วัตถุประสงค์  และขอบเขตของโครงงาน
3) หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎีหรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติม
4) วิธีดำเนินการ เป็นการอธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด ระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบ วิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน
5) ผลการศึกษา เป็นการนำเสนอข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจโครงงานได้โดยง่าย ด้วยการนำเสนอเป็นตาราง หรือกราฟ หรือข้อความ
6) สรุปผลและข้อเสนอแนะ เป็นการอธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำงาน ถ้ามีการตั้งสมมุติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้นอกจากนั้นควรกล่าวถึงการนำผลการทดลองไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน ข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงโครงงาน หากมีผู้สนใจศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้และควรระบุประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน รวมถึงประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ 
7) บรรณนุกรม เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร และเว็บไซต์ต่างๆที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้า เพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานนี้ ซึ่งการเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องเขียนตามหลักการเขียน
8) คู่มือการใช้งาน หากโครงงานที่จัดทำเป็นการพัฒนาขึ้นมาใหม่ ควรจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้งานผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย                                                                                                                                                    
 (1)  ชื่อผลงาน                                                                                                                                                                        
(2)  ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการระบุรายละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้น
(3) ความต้องการของซอฟต์แวร์ เป็นการระบุราบชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์                                                                                                                                               
 (4) คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง ข้อมูลรับเข้าและข้อมูลส่งออกคืออะไร                           
(5) วิธีการใช้งานของของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใดเพื่อให้ทำงานในฟังก์ชันต่างๆได้  
(6) ข้อแนะนำในการใช้งาน เพื่อให้ผลงานนั้นสามารถทำงานได้ดีที่สุด
  คู่มือการใช้งาน สามารถแยกออกจากรายงานฉบับสมบูรณ์ หรือใส่ไว้เป็นภาคผนวกของรายงานฉบับสมบูรณ์ก็ได้ ซึ่งผู้เขียนรายงานควรเขียนให้ชัดเจน ใช้ศัพท์เทคนิคที่ถูกต้อง ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา และครอบคลุมประเด็นสำคัญๆทั้งหมดของโครงงาน
6.การนำเสนอและเผยแพร่ เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานของผู้จัดทำซึ่งอาจนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการจัดนิทรรศการโดยใช้โปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด การใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงหรือโปร่งแสงร่วมกับเอกสารหรือแผ่นใส การใช้คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ไมโครซอฟต์เพาเว่อพอยต์ นำเสนอร่วมกับโพรเจกเตอร์และจอรับภาพ การสร้างเว็บเพจโดยผลงานที่นำเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบไปด้วยรายละเอียดและวิธีการ

ไม่มีความคิดเห็น:

ไหว้ครู

  https://blockly.games/maze?lang=th&level=1&&skin=0 https://www.codetheirdreams.com/online-coding-games/