การเขียนเค้าโครงงานคอมพิวเตอร์
เค้าโครงข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) ……………………………………………………………………………………………………………………..
(ภาษาอังกฤษ) ……………………………………………..………………………………….……………………………...
ประเภทของโครงงาน.…………………………………………………………………..…………………………………………………….
ชื่อผู้ทำโครงงาน 1. …………………………………………………………4. …………………………………………………………….
2. …………………………………………………………5. ………………………………………………………..…..
3. …………………………………………………………6. ………………………..………………………………..…
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา …………………………………………………………………………………………………………………………..
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ……………………………………………….……………………………………………………………………
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน
1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
ในการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงานว
ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา หลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะศึกษา
หรือพูดเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องที่สนใจจะศึกษานั้นต้องมีทฤษฎีแนวคิดสนับสนุน
เพราะความรู้เหล่านี้จะเป็นแนวทางสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
- แนวทางตั้งสมมติฐานของเรื่องที่ศึกษา
- แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมูล
- ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ
การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร
หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ
ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป
ส่วนที่ 1 คำนำ : เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง : อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
โดยมี หลักการ ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ
ถ้าไม่ทำโครงงานเรื่องนี้
ส่วนที่ 3 สรุป : สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่
2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นข้อความรู้ใหม่
ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลส่วนที่ 1
2. วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงาน
ในการเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน
อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น
ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา
ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน
คือ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ
3. หลักการและทฤษฎี(สมมติฐานของการศึกษา)
สมมติฐานของการศึกษา
เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงาน ต้องให้ความสำคัญ
เพราะจะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ
ซึ่งสมมติฐานก็คือ การคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักและเหตุผล ตามหลักการ
ทฤษฎี รวมทั้งผลการศึกษาของโครงงานที่ได้ทำมาแล้ว
4. วิธีดำเนินงาน
วิธีดำเนินการ
หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย
1. การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
2. การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการเขียนวิธีดำเนินการให้ระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง
เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน
เพื่อสามารถนำโครงการไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง
5. แผนปฏิบัติงาน
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ต้องกำหนดตารางเวลาดำเนินการทุกขั้นตอน
เพราะการทำตารางเวลาจะเป็นประโยชน์ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
เป็นประโยชน์ต่อการติดตามประเมินผลการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน
จนสิ้นสุดการทำโครงงานนั้น
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
คือ การคาดหวังถึงผลการดำเนินการตามโครงการ
ในการเขียนต้องคาดคะเนเหตุการณ์ว่าเมื่อได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์สิ้นสุดลง
ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างไรและได้รับมากน้อยเพียงใด
ผลที่ได้รับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ศึกษา
7. เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
คือ รายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ตลอดจนการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ควรเขียนตามหลักการที่นิยมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น