วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563

ระบบทางเทคโนโลยี

บทที่ 3 ระบบทางเทคโนโลยี
ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้1.  ระบบ คืออะไร2.  ระบบทางเทคโนโลยี3.  การวิเคราะห์ระบบทางเทคโนโลยี
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  นักเรียนสามารถวิเคราะห์ระบบทางเทคโนโลยีของชิ้นงานหรือวิธีการในชีวิตประจำวันได้2.  นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดระบบทางเทคโนโลยีเพื่อการดูแลรักษาเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
3.1 ระบบคืออะไร
    ระบบ (system) คือ กลุ่มของส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปประกอบเข้าด้วยกันและทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน    ระบบ อาจจำแนกได้เป็น ประเภท ได้แก่ ระบบที่พบในธรรมชาติกับระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น    ระบบที่พบในธรรมชาติ คือ ระบบที่ธรรมชาติสร้างขึ้นหรือเป็นไปตามธรรมชาติ เช่น ระบบลำเลียงในพืช ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมนุษย์ ระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหายใจ


คำถามชวนคิด:ในชีวิตประจำวันนักเรียนรู้จักระบบอะไรบ้าง และระบบนั้นมีการทำงานอย่างไร
ระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ ระบบที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบการให้น้ำพืช
คำถามชวนคิด:ระบบทางเทคโนโลยีเป็นระบบที่พบในธรรมชาติหรือระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น
3.2 ระบบทางเทคโนโลยี
ระบบทางเทคโนโลยี (technological system) คือ มนุษย์ประดิษฐ์หรือสร้างเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีนั้นจะต้องทำงานอย่างเป็นระบบ    ระบบทางเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เพื่อควบคุมการทำงานให้ได้ตามวัตถุประสงค์

ตัวป้อน (input) คือ สิ่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบซึ่งอาจมีมากกว่า อย่าง
กระบวนการ (process) คือ กิจกรรมหรือการดำเนินการที่เกิดขึ้นในระบบ เพื่อทำให้เกิดผลผลิตตามวัตถุประสงค์    ผลผลิต (output) คือ ผลที่ได้จากการทำงานร่วมกันของตัวป้อน และกระบวนการของระบบ ผลผลิตยังรวมถึงสิ่งที่เป็นผลพลอยได้จากระบบซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เราต้องการหรือไม่ก็ได้ เช่น ของเสีย เศษวัสดุ    ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) คือ ข้อมูลที่ใช้ในการควบคุมหรือป้อนกลับให้ระบบทำงานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจมีได้ในบางระบบ
ตัวอย่างองค์ประกอบระบบทางเทคโนโลยีของจักรยาน

ระบบทางเทคโนโลยีของจักรยานมีองค์ประกอบ ได้แก่ ตัวป้อน คือ แรงที่เราถีบบันไดจักรยาน ส่งผลให้เกิด กระบวนการของระบบ คือ จานหน้าหมุนทำให้โซ่เคลื่อนที่บังคับให้จานหลังและล้อจักรยานหมุน เกิดผลผลิตของระบบ คือ การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของจักรยานโดยความเร็วในการเคลื่อนที่ของจักรยาน คือ ข้อมูลย้อนกลับของระบบ ซึ่งส่งผลต่อตัวป้อนหรือแรงที่เราถีบบันไดจักรยาน เช่น ถ้าต้องการให้จักรยานเคลื่อนที่เร็วขึ้น ต้องเพิ่มแรงถีบบันไดจักรยานให้มากขึ้น
ตัวอย่างองค์ประกอบระบบทางเทคโนโลยีของเตาแก๊ส
            
ระบบทางเทคโนโลยีของเตาแก๊สมีองค์ประกอบ ได้แก่ ตัวป้อน คือ แก๊สหุงต้มที่ไหลเข้าสู่เตาและประกายไฟจุดนำ กระบวนการ คือ เมื่อเปิดวาล์วควบคุมแก๊ส แก๊สจะไหลเข้าหัวเตาและสัมผัสกับประกายไฟจุดนำบริเวณหัวเตาก่อให้เกิดเปลวไฟและความร้อนบนหัวเตาเป็นผลผลิตของเตาแก๊ส 
3.3 การวิเคราะห์ระบบทางเทคโนโลยี
การวิเคราะห์ระบบทางเทคโนโลยี คือ การพิจารณาองค์ประกอบของระบบ ซึ่งประกอบด้วย ตัวป้อน กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลย้อนกลับ ในระบบทางเทคโนโลยี หากส่วนใดส่วนหนึ่งในระบบขาดหายไปหรือทำงานบกพร่อง ระบบจะไม่สามารถทำงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ การวิเคราะห์ระบบทางเทคโนโลยีช่วยให้เข้าใจความสำคัญของการทำงานร่วมกันของแต่ละองค์ประกอบ นำไปสู่ความเข้าใจในการแก้ไขข้อบกพร่องและการดูแลรักษาเทคโนโลยี ดังตัวอย่างต่อไปนี้


ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์
ตัวป้อน     คือ แสงอาทิตย์ อาหารที่ต้องการอบแห้ง    กระบวนการ  คือ พื้นอะลูมิเนียมสีดำดูดกลืนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้เกิดความร้อน                 สะสมและการหมุนเวียนอากาศภายในตู้อบ     ผลผลิต     คือ อาหารอบแห้ง
        การรดน้ำอัตโนมัติแบบวัดความชื้นของดิน
ตัวป้อน      คือ ค่าความชื้นในดิน น้ำ    
กระบวนการ   คือ เซ็นเซอร์ตรวจวัดความชื้นในดินส่งสัญญาณให้ปั๊มน้ำทำงาน    
ผลผลิต       คือ ละอองน้ำจากหัวสปริงเกอร์    
ข้อมูลย้อนกลับ  คือ ค่าความชื้นในดิน

                 
สรุปท้ายบท
ระบบทางเทคโนโลยีมีองค์ประกอบ คือ ตัวป้อน (input) กระบวนการ (processผลผลิต (output) และบางระบบมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) องค์ประกอบทั้งหมดจะทำงานสัมพันธ์กันเพื่อให้เทคโนโลยีนั้นทำงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ การเรียนรู้และทำความเข้าใจระบบทางเทคโนโลยีช่วยให้เราสามารถแก้ไขข้อบกพร่อง รวมทั้งดูแลรักษาเทคโนโลยีให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานยาวนาน

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ม.2

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ

ให้นักเรียนวาดรูปทรงต่างๆ 10 รูปทรง ลงในกระดาษ A4 โดยแต่ละรูปทรงนั้นมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน เสร็จแล้วให้รวบรวม มาส่งที่โต๊ะครูอาร์ต ที่ห้องวิชาการ ภายในวันที่ 12 มีนาคม 2563 เท่านั้น !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

ศึกษากระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน ที่ David Kelly


วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563

อุปกรณ์เตือนกระแสไฟฟ้าเกินสำหรับปลั๊กพ่วง

อุปกรณ์เตือนกระแสไฟฟ้าเกินสำหรับปลั๊กพ่วง

https://www.youtube.com/watch?v=0uNdbGrUgG4

ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่มและสรุปเกี่ยวกับรูปแบบและขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งศึกษา สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม เรื่อง การจัดทำโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ ตามประเด็นที่กำหนดให้ ดังนี้

·       ความหมายและความสำคัญของโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
·       หลักการออกแบบที่ดีควรคำนึงถึงสิ่งใด
·       ขั้นตอนการทำโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563

ม.5

ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าแล้วตอบคำถาม พร้อมทำสรุปลงใน Microsoft Word ตามประเด็น ดังนี้

1. กระบวนการเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเทคโนโลยีหรือไม่ อย่างไร
2. นักเรียนคิดว่าระบบทางเทคโนโลยี หมายถึงอะไร

เสร็จส่งมาที่ asigaley@gmail.com ตั้งหัวข้อเรื่องว่า "งานระบบทางเทคโนโลยี( ชื่อนักเรียน )"

ม.4


ให้นักเรียนวิเคราะห์ปัญหาที่ระบุให้แล้วตอบคำถาม พร้อมทำสรุปลงใน Microsoft Word ตามประเด็น ดังนี้

ปัญหาที่ 1 นักเรียนไม่ทำโซนพื้นที่เกษตรในช่วงบ่าย
ปัญหาที่ 2 เข้าหอพักก่อนเวลาที่กำหนด
ปัญหาที่ 3 ไม่ช่วยกันทำความสะอาดหอพัก

จากปัญหาข้างต้นให้นักเรียนนำมาตอบปัญหาดังต่อไปนี้
1. ปัญหาที่จำเป็นต้องแก้คืออะไร
2. ใครคือผู้ที่เผชิญปัญหาที่เราจำเป็นต้องแก้
3. เหตุใดปัญหานี้จึงจำเป็นต้องแก้
4. จากการรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร
5. แนวทางการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร


เสร็จส่งมาที่ asigaley@gmail.com ตั้งหัวข้อเรื่องว่า "งานการแก้ไขปัญหา( ชื่อนักเรียน )"


ไหว้ครู

  https://blockly.games/maze?lang=th&level=1&&skin=0 https://www.codetheirdreams.com/online-coding-games/